หากกล่าวถึงการพัฒนาถนนในปัจจุบัน นักวางแผนด้านการคมนาคมขนส่งมักมองว่ามีทิศทางในการพัฒนาเป็นแบบเส้นตรง นั่นคือการพัฒนาจากถนนดินลูกรัง สู่การพัฒนาเป็นถนนสองช่องจราจร และการพัฒนาเป็นถนนจำนวนหลายช่องจราจร ซึ่งเป็นการพัฒนาที่เน้นการเคลื่อนที่ของยานพาหนะให้สามารถทำความเร็วสูงขึ้นและรองรับปริมาณจราจรที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามแนวทางการพัฒนาดังกล่าวกลับนำมาสู่ปัญหาของความปลอดภัยทางถนนและปัญหาจราจรติดขัด และได้ส่งผลกระทบโดยตรงแก่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว นโยบายด้านการพัฒนาถนนทั่วโลกจึงได้เริ่มปรับเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาให้เกิดความน่าอยู่ (Liveablility) ผ่านการจัดประเภทถนนตามความต้องการใช้งานของทุกคน ตั้งแต่ของผู้ใช้รถบนท้องถนนและผู้ใช้งานรอบข้างถนน พร้อมทั้งขยายขอบเขตของการพัฒนาถนนจากการเป็นพื้นที่สัญจรของยานพาหนะสู่การเป็นพื้นที่แห่งการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน ทั้งนี้งานวิจัยได้เสนอแนะแนวทางการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการถนนของภาครัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นเพื่อให้การพัฒนาเกิดความเป็นไปได้อย่างยั่งยืน
Facebook Watch: https://fb.watch/5i5O0kv0By/
ปราโมทย์ ประสาทกุล
กัญญา อภิพรชัยสกุล
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
สุรีย์พร พันพึ่ง
บุรเทพ โชคธนานุกูล
จรัมพร โห้ลำยอง
กัญญา อภิพรชัยสกุล
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สลาลี สมบัติมี
ปราโมทย์ ประสาทกุล
กาญจนา ตั้งชลทิพย์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ประทีป นัยนา