The Prachakorn

ลักษณะพฤติกรรมการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านในเขตเมือง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคผักและผลไม้ของคนไทยที่ไม่ใช่เกษตรกร


สาสินี เทพสุวรรณ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด

16 พฤศจิกายน 2564
883



ด้วยประโยชน์ของการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้าน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนและของชาติ1 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสุขภาพทางจิตและกาย การเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้2,3,4,5,6  การมีกิจกรรมทางกาย6,8 สุขภาพตนเอง7 ความผาสุกทางจิตใจ6,10 และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม6,7,10,11 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว ดังนั้นบทความนี้นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านกับการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอของคนไทยที่ไม่ใช่เกษตรกร และศึกษาอิทธิพลของลักษณะทางประชากร และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านในพื้นที่เขตเมืองของประเทศไทย

การศึกษานี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะทางประชากร การปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านด้วยตนเอง ปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของบุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนแบบแบ่งชั้น จากฐานข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประชากรได้ถูกแบ่งชั้นตามเพศ อายุ เขตที่อยู่อาศัย และความหนาแน่นของประชากร คิดเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3,720 ครัวเรือน ในการศึกษานี้ได้เก็บข้อมูลจาก 3,670 ครัวเรือน คิดเป็นจำนวนประชากร 7,065 คน และมี 5,634 คนที่ไม่ได้เป็นเกษตร

ผลการศึกษาพบว่า การปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการบริโภคผักและผลไม้ที่เพียงพอในกลุมตัวอย่างที่ไม่ใช่เกษตรกร (p < 0.001) โดยกลุ่มที่ไม่ใช่เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองประมาณ 9% มีการปลูกพืชผักและผลไม้กินเองที่บ้าน นอกจากนี้ การปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านยังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับลักษณะทางสังคมและประชากร (เพศ อายุ และอาชีพ) การมีกิจกรรมทางกาย ความกลัวการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ และความตระหนักด้านความปลอดภัยของผักและผลไม้ในหมู่ผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรในเมืองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้หญิงวัยกลางคน ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้ที่กลัวการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้าง และผู้ที่ตระหนักในความปลอดภัยของผักและผลไม้ในระดับสูง มีความเป็นไปได้สูงที่จะปลูกพืชผักผลไม้กินเองที่บ้าน นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างทางสังคมและประชากร ได้แก่ เพศ อายุ และอาชีพ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านของผู้ที่อาศัยในเขตเมืองด้วย

ผลการศึกษานี้ได้เสนอแนะให้ภาครัฐหันมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอของคนไทย ผ่านการส่งเสริมการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านของผู้ที่อาศัยในเมืองให้มากขึ้น และควรดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคท้องถิ่น รวมถึงเพิ่มทักษะการปลูกพืชผักผลไม้ที่บ้านให้กับผู้อาศัยในเขตเมืองร่วมด้วย


อ้างอิง

  1.   Buckingham, S. Women (re)construct the plot: The regen(d)eration of urban food growing. Area 2005, 37,
    171–179. [CrossRef]
  2. Machida, D. Relationship between community or home gardening and health of the elderly: A web-based cross-sectional survey in Japan. Int. J. Environ. Res. Public Health 2019, 16, 1389. [CrossRef]
  3. Litt, J.S.; Schmiege, S.J.; Hale, J.W.; Buchenau, M.; Sancar, F. Exploring ecological, emotional and social levers of self-rated health for urban gardeners and non-gardeners: A path analysis. Soc. Sci. Med. 2015, 144, 1–8.[CrossRef]
  4. Machida, D.; Yoshida, T. Relationship between fruit and vegetable gardening and health-related factors: Male community gardeners aged 50–74 years living in a suburban area of Japan. Jpn. J. Public Health 2017, 64,684–694. [CrossRef]
  5. Loso, J.; Staub, D.; Colby, S.E.; Olfert, M.D.; Kattelmann, K.; Vilaro, M.; Colee, J.; Zhou, W.; Franzen-Castle, L.;Mathews, A.E. Gardening experience is associated with increased fruit and vegetable intake among first-year college students: A cross-sectional examination. J. Acad. Nutr. Diet. 2018, 118, 275–283. [CrossRef]
  6. Ober Allen, J.; Alaimo, K.; Elam, D.; Perry, E. Growing vegetables and values: Benefits of neighborhood-based community gardens for youth development and nutrition. J. Hunger Environ. Nutr. 2008, 3, 418–439.[CrossRef]
  7. Litt, J.S.; Schmiege, S.J.; Hale, J.W.; Buchenau, M.; Sancar, F. Exploring ecological, emotional and social levers of self-rated health for urban gardeners and non-gardeners: A path analysis. Soc. Sci. Med. 2015, 144, 1–8.[CrossRef]
  8. Machida, D.; Yoshida, T. Relationship between fruit and vegetable gardening and health-related factors: Male community gardeners aged 50–74 years living in a suburban area of Japan. Jpn. J. Public Health 2017, 64,684–694. [CrossRef]
  9. Loso, J.; Staub, D.; Colby, S.E.; Olfert, M.D.; Kattelmann, K.; Vilaro, M.; Colee, J.; Zhou, W.; Franzen-Castle, L.;Mathews, A.E. Gardening experience is associated with increased fruit and vegetable intake among first-year college students: A cross-sectional examination. J. Acad. Nutr. Diet. 2018, 118, 275–283. [CrossRef]
  10. Ober Allen, J.; Alaimo, K.; Elam, D.; Perry, E. Growing vegetables and values: Benefits of neighborhood-based community gardens for youth development and nutrition. J. Hunger Environ. Nutr. 2008, 3, 418–439.[CrossRef]
  11. Eng, S.; Khun, T.; Jower, S.; Murro, M.J. Healthy lifestyle through home gardening: The art of sharing. Am. J. Lifestyle Med. 2019, 13, 347–350. [Google Scholar] [CrossRef]

ที่มา

Phulkerd, S., Thapsuwan, S., Gray, R. S. & Chamratrithirong, A. (2020). Characterizing urban home gardening and associated factors to shape fruit and vegetable consumption among non-farmers in Thailand. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(15):5400.

 



CONTRIBUTORS

Related Posts
สารตั้งต้น เล่ม 1 และ 2

จีรวรรณ หงษ์ทอง

ความเบื่อหน่าย

วรชัย ทองไทย

ภาษี

วรชัย ทองไทย

โรคอ้วน

วรชัย ทองไทย

ลักษณนาม

วรชัย ทองไทย

ท้องผูก

วรชัย ทองไทย

แรด

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th