The Prachakorn

มลพิษอากาศ: ปัจจัยกำหนดสุขภาพผ่านโครงสร้างทางสังคม


09 ธันวาคม 2564
1,134



ผศ.ดร.ณัฎฐา ฐานีพานิชสกุล (วิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

มลพิษอากาศเป็นหนึ่งในปัญหาทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากมลพิษอากาศส่งผลต่อการเจ็บป่วยและการตายก่อนวัยอันควรของประชากร และยังมีการศึกษาวิจัยที่แสดงถึงผลกระทบของมลพิษอากาศต่อสุขภาพจิต ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ และความผิดปกติของทารกแรกเกิด การรับสัมผัสมลพิษอากาศทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นหนึ่งในปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคมที่สำคัญ อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางโครงสร้างของสังคมส่งผลต่อการเพิ่มลดโอกาสของการรับสัมผัสมลพิษอากาศ เช่น เศรษฐฐานะของประชากร คุณภาพของที่อยู่อาศัย พื้นที่อยู่อาศัย การเข้าถึงพื้นที่สีเขียว และการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งผลกระทบจากมลพิษอากาศเหล่านี้ย่อมเป็นผลกระทบระยะยาวทางด้านสุขภาพซึ่งสอดคล้องกับต้นทุนทางด้านสุขภาพของประชากร รวมถึงการเพิ่มขึ้นของกลุ่มเปราะบางต่อมลพิษอากาศ การจัดการผลกระทบจากมลพิษอากาศต่อสุขภาพอย่างยั่งยืนควรคำนึงถึงโครงสร้างทางสังคมของประชากรร่วมกับการกำหนดนโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของโอกาสและศักยภาพในการเข้าถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการลดผลกระทบต่อสุขภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญในการลดความเจ็บป่วยของประชากรไทยอันเนื่องมากจากมลพิษอากาศ

สามารถติดตามชมย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/9TXeo_2EnW/

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
ภูมิแพ้ รู้สาเหตุ รู้ทางแก้

วิภาพร จารุเรืองไพศาล

โลกร้อน

วรชัย ทองไทย

ส่องเทรนโลก เทรนไทย “ตลาดและคุณภาพอาหารแปรรูปสูง”

ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด

COVID-19 กับผลกระทบต่อผู้ย้ายถิ่น

สักกรินทร์ นิยมศิลป์

เด็กปฐมวัย...โอกาสทองสร้างคน

มนสิการ กาญจนะจิตรา

วิถีใหม่

วรชัย ทองไทย

Triple Bs and One NA แรงเท้าบอกไม่ไหว แต่แรงใจบอกไปต่อ บันทึก (ขาขึ้น) ณ ภูกระดึง 2023

ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,กษมา ยาโกะ,ณัฐณิชา ลอยฟ้า,ธนพร เกิดแก้ว

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th