The Prachakorn

การคาดประมาณความชุกของเด็กไทยที่มีภาวะเริ่มอ้วนจากข้อมูลหลายแหล่ง


จงจิตต์ ฤทธิรงค์

23 กุมภาพันธ์ 2565
719



บทความเรื่อง “A Bayesian approach to combining multiple information sources: Estimating and forecasting childhood obesity in Thailand” เป็นผลผลิตจากการศึกษาภายใต้โครงการพัฒนางานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อลดปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอระเบียบวิธีวิจัยเพื่อการคาดประมาณความชุกของเด็กไทยที่มีภาวะเริ่มอ้วน (overweight) และโรคอ้วน (obesity) เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทย (National Health Examination Survey) ซึ่งเป็นตัวแทนประชากรระดับประเทศมีเพียง 5 รอบ ณ วันที่ดำเนินการศึกษา ซึ่งอาจทำให้ผลการคาดประมาณมีความแปรปรวนสูง

คณะผู้วิจัยจึงใช้ Bayesian approach ซึ่งเป็นโมเดลทางสถิติที่อนุญาตให้ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งเข้ามาร่วมวิเคราะห์ได้ ข้อมูลที่ใช้ร่วมในการคาดประมาณมีดังนี้ การสำรวจโครงการวิจัยพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย : ปัจจัยคัดสรรด้านครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูเด็ก (Holistic Development of Thai Children: ) ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Office of Basic Education Commission – school data) และข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO)

การสร้างโมเดลค่อยๆ นำเข้าข้อมูลที่ละชุด เพื่อคาดประมาณภาวะโรคอ้วนในเด็กไทยอายุ 2-17 ปี จำแนกตามอายุ เพศ ภาค และพื้นที่อยู่อาศัย (ในและนอกเขตเทศบาล) แล้วจึงปรับโมเดลตามแนวโน้มของความชุก วิธีการนี้ทำให้เห็นแนวโน้มความชุกและความคลาดเคลื่อน (error) ของแต่ละชุดข้อมูล

ผลจากการคาดประมาณนี้พบว่า ความชุกของภาวะเริ่มอ้วนและโรคอ้วนของเด็กไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น และค่อนข้างคงที่ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี    

อ้างอิง
Bryant, J., Rittirong, J., Aekplakorn, W., Mo-suwan, L., & Nitnara, P. (2022). A Bayesian approach to combining multiple information sources: Estimating and forecasting childhood obesity in Thailand. PLoS ONE, 17(1), e0262047. doi:10.1371/journal.pone.0262047

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
https://youtu.be/jvOhSpRmaHQ

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
พาพ่อกลับกรีนแลนด์

อมรา สุนทรธาดา

สุขภาพคนไทย 2561

จีรวรรณ หงษ์ทอง

วันประชากรโลก

กาญจนา เทียนลาย

สูงวัยแต่ไม่แก่

ปราโมทย์ ประสาทกุล

ติดรถ – รถติด ปลอดรถ – ลดพิษ

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์

คำขวัญวันเด็ก

สุภาณี ปลื้มเจริญ

Brighton and Hove เมืองอาหารยั่งยืน

พิมลพรรณ นิตย์นรา

กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่

ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์

หัวใจ

วรชัย ทองไทย

ส่องเทรนโลก เทรนไทย “ตลาดและคุณภาพอาหารแปรรูปสูง”

ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด

อาชีพกับเรื่องอ้วนๆ

จงจิตต์ ฤทธิรงค์

นอนกี่ชั่วโมงคือเพียงพอ

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์

วิถีใหม่

วรชัย ทองไทย

มะเร็ง

วรชัย ทองไทย

โรคอ้วน

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th