รัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เป็นการแสดงท่าทีขัดขวางอย่างชัดเจนของผู้นำกองทัพต่อการเรียกร้องของประชาชนเพื่อวิถีประชาธิปไตย การปราบปรามด้วยอาวุธร้ายแรงต่อประชาชนหลากหลายวัย เพศ และอาชีพ ที่ออกมาประท้วง จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ที่ถูกจับเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง ณ วันที่ 4 พฤษภาคม จากรายงานของ Assistance Association for Political Prisoners (AAPP) มีผู้เสียชีวิต 769 ราย ถูกจับ 4,737 ราย ในจำนวนนี้ 3,677 ราย ยังถูกคุมขัง1
ผู้นำกองทัพพยายามลดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อพรรค National League for Democracy (NLD) ที่ได้รับคะแนนเสียงชนิดถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อพฤศจิกายน 2563 โดยอ้างเหตุให้คณะกรรมการกลางการเลือกตั้งสอบสวน การลงคะแนนเสียงไม่โปร่งใสรวม 314 เขตเลือกตั้ง แต่ไม่พบหลักฐานการทุจริตตามที่ร้องเรียน ในที่สุดทางเลือกที่เหลืออยู่คือ การกระทำรัฐประหาร
การปฏิรูปการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยในเมียนมาไม่ใช่เรื่องง่าย จากสาเหตุและอุปสรรครอบด้าน พลเมืองของประเทศประมาณ 55 ล้านคน2 ประกอบด้วยชนหลากชาติพันธุ์รวม 134 กลุ่ม ในจำนวนนี้รัฐแบ่งเป็นกลุ่มหลักเพียง 8 กลุ่มเท่านั้น ด้วยเหตุผลความมั่นคงและการบริหารประเทศ โดยใช้พื้นที่การอยู่อาศัยเป็นเกณฑ์ ซึ่งในทางปฏิบัติมีความขัดแย้งเรื่องภาษาและวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม3
ความยุ่งยากภายในประเทศคือ ความต้องการเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลาง เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง มีกองกำลังติดอาวุธ เพราะต้องการแยกเป็นรัฐอิสระ การสู้รบเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยาวนาน แม้ว่าจะมีศักยภาพที่ด้อยกว่ากองทัพจากรัฐบาลกลางที่ใช้วิธีการปราบปรามอย่างเด็ดขาด การรื้อไล่และเผาบ้านเรือนชนกลุ่มน้อยโรฮีนจาในรัฐยะไข่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้นำกองทัพไม่เคยยอมรับประชากรกลุ่มนี้เพราะถือว่าเป็นพลเมืองต่างศาสนา กองทัพใช้เป็นข้ออ้างถึงความไม่พร้อมและไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลพลเรือนที่มี ออง ซาน ซู จี เป็นผู้นำแต่เพียงในนามเท่านั้น การเผาทำลายที่อยู่อาศัยและการผลักดันให้ออกนอกประเทศเป็นปัญหาที่องค์กรนานาชาติเข้าแทรกแซง เพราะถือว่าละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน
หากย้อนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ชนกลุ่มน้อยเชื้อสายโรฮีนจา เปรียบเสมือนมรดกบาปในยุคอาณานิคมที่รัฐบาลอังกฤษกวาดต้อนมาจากภาคตะวันตกของรัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย (ปัจจุบันบางส่วนแยกเป็นประเทศบังคลาเทศ) เพื่อเป็นแรงงานราคาถูกสำหรับการทำอุตสาหกรรมค้าไม้ เมื่ออังกฤษปลดปล่อยเมียนมาเมื่อปี 2491 ชนกลุ่มน้อยโรฮีนจายังคงตั้งถิ่นฐานทีเดิมจากรุ่นแรกสู่รุ่นลูกหลาน และไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นพลเมืองของชาติ เนื่องจากต่างศาสนาและวัฒนธรรม
เมียนมาปกครองประเทศโดยรัฐบาลทหารมาตั้งแต่ปี 2505 จนถึง ปี 2554 โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของนายพลเนวิน ระหว่างปี 2505-2531 เรืองอำนาจถึง 26 ปี เมียนมาอยู่ภายใต้การปกครองแบบรัฐบาลทหารจนถึงปี 2554 เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องการปกครองระบบประชาธิปไตย และมีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2558 ซึ่งพรรค National League for Democracy (NLD) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น ออง ซาน ซู จี เข้ามาบริหารประเทศในฐานะหัวหน้าพรรค หลังจากที่ถูกกักบริเวณ 15 ปี เพื่อลดบทบาททางการเมือง
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อพฤศจิกายน ปี 2563 ออง ซาน ซู จี ได้รับชัยชนะอีกครั้ง และเป็นสาเหตุที่ผู้นำกองทัพต้องทำรัฐประหารเพื่อเรียกคืนอำนาจ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ประชาชนเรียกร้องการปล่อยตัว ออง ซาน ซู จี
ภาพโดยhttps://www.bing.com/images/search?q=aung+san+myanmar&id=F33729E2B9B43E1F450DF98DB37E26E571A14A92&form=IQFRBA&first=1&disoverlay=1 สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2564
บทบาทผู้นำ ASEAN ประเมินจากผลการประชุมเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เมื่อ นายพล มิน ออง หล่าย แสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะยอมรับในหลักการตามข้อเสนอโดยไม่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชนเมื่อสถานการณ์สงบและวางใจได้เท่านั้น
การประท้วงที่เมืองย่างกุ้ง
ภาพโดย: https://www.trtworld.com/asia/coup-and-pandemic-could-drive-half-of-myanmar-into-poverty-by-2022-46338 สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2564
ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนสำ.หรับชะตากรรมพลเมืองเมียนมา 54 ล้านคน จากเหตุรัฐประหาร ปัญหาเร่งด่วน เช่น ความยากจน การระบาดของโควิด-19 ความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศระหว่างชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ต้องการแยกเป็นรัฐอิสระ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮีนจา สำหรับผลกระทบในวงกว้างคือ ความมั่นคงของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ไทยและมาเลเซีย ได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนเพราะจำนวนผู้ลี้ภัยและการลอบเข้าประเทศโดยอาศัยช่องทางธรรมชาติหลบหนีเข้าเมือง การตรวจจับและส่งกลับถิ่นต้นทางไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ได้ผล รวมทั้งการเปิดเจรจาในกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนแทบจะหมดหนทางเพราะผู้นำการปฏิวัติแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในเวทีผู้นำอาเซียนจากการประชุมเมื่อวันที่ 24 เมษายน ณ กรุงจาการ์ตา ว่าข้อเสนอต่างๆ จะปฏิบัติได้ต่อเมื่อสถานการณ์ในประเทศสงบเท่านั้น
อ้างอิง
ศิรดา เขมานิฏฐาไท
สาสินี เทพสุวรรณ์
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
วิภาพร จารุเรืองไพศาล
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
มนสิการ กาญจนะจิตรา
กาญจนา เทียนลาย
อมรา สุนทรธาดา
วรชัย ทองไทย
ดวงวิไล ไทยแท้
พรสุรีย์ จิวานานนท์
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
จงจิตต์ ฤทธิรงค์,พรสุรีย์ จิวนานนท์
ศุทธิดา ชวนวัน
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
เพ็ญพิมล คงมนต์
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
อมรา สุนทรธาดา
โรยทราย วงศ์สุบรรณ
ภัสสร มิ่งไธสง
อมรา สุนทรธาดา
จรัมพร โห้ลำยอง
อมรา สุนทรธาดา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
อมรา สุนทรธาดา
พิชฌ์นิพัทธ์ วิชัยโน
บุรเทพ โชคธนานุกูล
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
สุรีย์พร พันพึ่ง
อมรา สุนทรธาดา
กาญจนา ตั้งชลทิพย์
อมรา สุนทรธาดา
อารี จำปากลาย
ปราโมทย์ ประสาทกุล