สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด -19 ที่ต่อเนื่อง ยาวนาน มีเหตุการณ์ให้สังคมต้องเรียนรู้ในทุกๆวัน ระยะเวลาเกือบ 2 ปีเต็ม (2563 - 2564) ที่เด็กทุกคนที่อยู่ในวัยเรียนต้องปรับตัวเข้ากับรูปแบบการเรียนทั้งออนไลน์และรูปแบบอื่นๆ ที่หน่วยงานภาคการศึกษามีความพยายามออกแบบเพื่อรองรับให้นักเรียนยังคงสามารถเข้าถึงการศึกษาของแต่ละภาคการศึกษาได้ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเพียงส่วนหนึ่งของผู้เรียนที่สามารถเข้าถึงการจัดการศึกษาในแต่ละรูปแบบ และเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจจะขาดความต่อเนื่องในการเข้าถึงการเรียนรู้ เด็กกลุ่มหนึ่งที่กำลังประสบกับภาวะปัญหาของการเข้าไม่ถึงการเรียนการสอนจากระบบโรงเรียนและจากการจัดการเรียนการสอนของศูนย์การเรียนรู้ คือเด็กข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และส่วนหนึ่งเป็นเด็กที่เดินทางผ่านแดนเพื่อเข้ามาอยู่กับพ่อแม่ช่วงปิดเทอม และไม่สามารถกลับไปประเทศได้เนื่องจากการปิดช่องทางผ่านแดนในระยะที่ผ่านมา
ช่วงเวลาที่โรงเรียนและศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กข้ามชาติจำเป็นต้องปรับรูปแบบกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดหรือบางที่ต้องงดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นช่วงเวลาเดียวกันพอดี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 ของประเทศไทยได้มีการปลดล็อคใบกระท่อมให้สามารถปลูก กิน และสามารถซื้อขายได้อย่างเสรีมากขึ้น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ พ.ศ.2564 ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 โดยมีการแก้ไขถอดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดประเภท 5 โดยข้อยกเว้นสำคัญคือ ห้ามขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงห้ามนำไปผสมกับสารเสพติดชนิดอื่น เช่น 4X100 (เป็นการนำสารเสพติดพืชกระท่อมมาต้มผสมกับยาทางการแพทย์ เช่น ยาแก้ไอ จนเกิดเป็นสูตรสารเสพติด)
ข้อมูลสถิติของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการปราบปรามและการควบคุมยาเสพติดของประเทศไทยที่มีการเผยแพร่และรวบรวมไว้ รวมถึงจำนวนคดีที่เกิดกับเด็กและเยาวชนที่นำเสนอข้อมูลล่าสุดของปี 2563 ทำให้พอเห็นได้ว่าปัญหาของยาเสพติดที่ผ่านการพิจารณาทางคดี มีส่วนหนึ่งที่เป็น “เด็กข้ามชาติ”
สถิติการจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ
การจับกุมคดียาเสพติด (พืชกระท่อม) | จำนวนคดี |
---|---|
2559 | 23,597 |
2560 | 20,560 |
2561 | 18,928 |
2562 | 13,768 |
2563 | 16,312 |
ที่มา : รายงานประจำปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม
สถิติการจับกุมชาวต่างประเทศในคดียาเสพติดทั่วประเทศ จําแนกตามสัญชาติ (3 ลำดับแรก)
สัญชาติ | จำนวนคดี |
---|---|
พม่า | 1,982 |
ลาว | 220 |
กัมพูชา | 168 |
ที่มา : รายงานประจำปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม
จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินโดยสถานพินิจฯทั่วประเทศ ปี 2563
จำแนกตามสัญชาติ (3 ลำดับแรก)
สัญชาติ | จำนวนคดี |
---|---|
ไทย | 19,101 |
พม่า | 169 |
ลาว | 53 |
กัมพูชา | 50 |
ที่มา : รายงานสถิติคดี กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ประจำปี 2563
เด็กก่อนอายุ 18 ปีที่ไม่ได้เรียนและไม่ได้ทำงานมีการตามกลุ่มเพื่อนในวัยเดียวกันที่มีความอยากรู้ อยากลองใบกระท่อมมากขึ้น “การซื้อขายที่เป็นอิสระมากขึ้น ทำให้เด็กเปลี่ยนจากผู้ซื้อเป็นคนกลางหรือเป็นผู้ขาย การให้สัมภาษณ์ของ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) ชาวเมียนมาทำให้เห็นข้อมูลที่น่าสนใจมีการพบว่าเด็กในพื้นที่หันไปให้ความสนใจในการกินน้ำต้มใบกระท่อม โดยเป็นการกินตามๆ กันในหมู่เพื่อนกลุ่มเดียวกัน และเป็นที่น่ากังวลว่าพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กเหล่านี้ไม่รู้ว่าลูกของตนเองกำลังหันไปนิยมพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณและให้โทษ หากไม่ได้เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ตามที่กฎหมายมีเจตนาปลดล็อคในครั้งนี้ จึงเป็นความเสี่ยงอีกเรื่องหนึ่งของเด็กทุกคนในวัยอยากรู้ อยากลอง “เสี่ยงที่เด็กวัยรุ่นอนาคตจะหายไป” ถึงแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดห้ามขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่คงไม่สามารถจำกัดขีดความสามารถในการแสวงหาของเด็กผู้ต้องการทดลองสมุนไพรพื้นบ้านชนิดนี้ได้
ข้อสังเกตครั้งนี้เป็นการสะท้อนจากสถานการณ์ในพื้นที่หนึ่งเท่านั้น ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเด็กข้ามชาติที่ไม่ได้เรียนหนังสือจะหันไปให้ความสนใจใช้ใบกระท่อมด้วยกันทั้งหมด แต่ก็เป็นเรื่องดีที่จะได้ชวนผู้อ่านทุกท่านร่วมกันย้อนคิดว่า เราจะสามารถบังคับใช้กฎหมายข้อนี้และดูแลเด็กและเยาวชนในประเทศไทยทุกคนรวมถึงสมาชิกเด็กข้ามชาติที่กำลังเติบโต ให้รับรู้และเท่าทันพร้อมกับสามารถใช้สมุนไพรขึ้นชื่อชนิดนี้ภายใต้ที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างไร มากไปกว่านั้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สังคมจะร่วมกันดูแลในช่วงเวลาที่โรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอนเพื่อไม่ให้พวกเขาต้องเดินเข้าสู่เส้นทางของการกระทำผิดและเกิดปัญหากับชีวิตในอนาคต
ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น
ทีมวิจัยโครงการ “การประเมินสถานการณ์เด็กข้ามชาติในประเทศไทยและผลกระทบจากโควิด-19”
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
เรืองริน ประทิพพรกุล
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
รีนา ต๊ะดี
กรกนก พงษ์ประดิษฐ์
วรชัย ทองไทย
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ขวัญชนก ใจซื่อกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต,สุภรต์ จรัสสิทธิ์
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ปรียา พลอยระย้า
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
สุภาณี ปลื้มเจริญ
อารี จำปากลาย
วรชัย ทองไทย
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ศุทธิดา ชวนวัน
เพ็ญพิมล คงมนต์
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ดนุสรณ์ โพธารินทร์
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ทิฆัมพร สิงโตมาศ
ณปภัช สัจนวกุล
ศิรดา เขมานิฏฐาไท
วาทินี บุญชะลักษี
ชณุมา สัตยดิษฐ์
สิรินทร์ยา พูลเกิด