บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการประเมินประสิทธิผลการใช้เกณฑ์จำแนกอาหารในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนไทย ปี 2564 ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีขายตามท้องตลาดในประเทศไทย โดยใช้ระบบการจำแนกอาหารจากหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ระบบของ 1) กรมอนามัย 2) มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 3) WHO South-East Asia Region และ 4) food-processing-based food classification system หรือ NOVA ของมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล บทความทำการวิเคราะห์แต่ละระบบ เพื่อดูความความสามารถและความครอบคลุมของแต่ละระบบในการจำแนกกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพและไม่ดีต่อสุขภาพ โดยระบบที่ 1-3 ใช้เกณฑ์ปริมาณสารอาหารที่ใส่ในผลิตภัณฑ์ ขณะที่ระบบที่ 4 ใช้เกณฑ์กระบวนการแปรรูปที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์
บทความนี้ใช้ข้อมูลจากฐาน Mintel Global New Products ของปี 2564 โดยดึงข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจำนวน 17,414 รายการมาวิเคราะห์ ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่สามารถผ่านเกณฑ์ของระบบที่ 1-3 หรือกล่าวคือ เป็นอาหารดีต่อสุขภาพหรืออาหารที่มีการปรับสูตรให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น พบเพียงร้อยละ 10-11 ของผลิตภัณฑ์ที่ศึกษา ขณะที่มีผลิตภัณฑ์เพียงร้อยละ 6 ที่ผ่านเกณฑ์ของระบบที่ 4
ภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ
ที่มา www.freepik.com
บทความนี้ได้เสนอแนะให้ ภาครัฐเร่งออกมาตรการควบคุมปริมาณผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่ขายในท้องตลาดให้มากขึ้น ร่วมกับการมีมาตรการส่งเสริมการผลิตและขายอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้มากขึ้น และการมีกลไกติดตามสถานการณ์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลใช้ประกอบการควบคุมและส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ขายในท้องตลาด เพิ่มการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพคนไทย รวมถึงการพิจารณาใช้ระบบจำแนกอาหารที่มีประสิทธิภาพที่สามารถช่วยจำแนกอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้ครอบคลุมและถูกต้องอย่างแท้จริง
ที่มา:
Phulkerd S, Dickie S, Thongcharoenchupong N, Thapsuwan S, Machado P, Woods JL, Mo-Suwan L, Prasertsom P, Ungchusak C, Khitdee C, Lawrence MA. Choosing an effective food classification system for promoting healthy diets in Thailand: A comparative evaluation of three nutrient profiling-based food classification systems (government, WHO and Healthier Choice Logo) and a food processing-based food classification system (NOVA). Frontiers in Nutrition 2023, 10:1149813
สิรินทร์ยา พูลเกิด
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
วรชัย ทองไทย
วรชัย ทองไทย
สุพัตรา ฌานประภัสร์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
วีรภาคย์ ซำศิริพงษ์
ศุทธิดา ชวนวัน
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
รีนา ต๊ะดี
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
ณัฐพร โตภะ
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด
ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น
วรชัย ทองไทย
วรชัย ทองไทย
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ปาริฉัตร นาครักษา,สิรินทร์ยา พูลเกิด
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ปรียา พลอยระย้า
ภัสสร มิ่งไธสง
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ณัฐพร โตภะ
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปิยะวัฒน์ สวัสดิ์จู,สุภาณี ปลื้มเจริญ
วริศรา ไข่ลือนาม
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
อมรา สุนทรธาดา