The Prachakorn

การวิเคราะห์เปรียบเทียบการออกและดำเนินนโยบายเก็บภาษีในเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล (ปี 2559-2562) ใน 16 ประเทศ


สิรินทร์ยา พูลเกิด

25 มีนาคม 2565
388



บทความนี้เป็นผลการศึกษาของโครงการวิจัยชื่อ “Diffusion of policy innovation for NCD prevention: SSB taxes” ที่ดำเนินการโดยทีมวิจัยจาก University of Sydney ประเทศ Australia ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในหลายประเทศ เช่น Dickinson College ประเทศสหรัฐอเมริกา, Kebangsaan Malaysia ประเทศ Malaysia, มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย และ King Saud University ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและแบบแผนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการการออก (adoption) และดำเนิน (implementation) นโยบายเก็บภาษีในเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลและการเรียนรู้นโยบาย (policy learning) ของแต่ละประเทศที่มีนโยบายนี้ เพื่อใช้เป็นบทเรียนสำหรับประเทศที่ต้องการใช้นโยบายทางภาษีนี้ในอนาคต โดยใช้วิธีศึกษาเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารนโยบายและทางสื่อสาธารณะ รวมถึงเก็บข้อมูลทางสถิติของแต่ละประเทศร่วมด้วย โดยแนวทางการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลถูกพัฒนาขึ้นอิงตามทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of Innovation: DOI) และทฤษฎีเกี่ยวกับ policy learning 

ผลการศึกษาพบว่า แนวทางที่ใช้เก็บภาษีในเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลในแต่ละประเทศมีการปรับให้เหมาะสมกับบริบทและมีความหลากหลายแตกต่างกันไป โดยนโยบายนี้มุ่งเป้าสนับสนุนประเด็นทางสุขภาพเป็นหลัก ซึ่งเป็นแนวทางที่สาธารณะชนให้การสนับสนุน ทั้งเรื่องการช่วยลดโรคอ้วนหรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเพิ่มรายได้เข้ารัฐ และการช่วยลดค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน ได้มีการคัดค้านการเก็บภาษีฯ โดยยกประเด็นรูปแบบการเก็บที่เป็นลักษณะภาษีถดถอย ที่อาจทำให้เกิดภาระมากขึ้นสำหรับคนที่ยากจนมากกว่าคนรวย ความไม่สอดคล้องของนโยบายนี้กับนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจอื่นๆ ของประเทศ และการชี้ให้เห็นว่า การเก็บภาษีฯ มีผลดีต่อสุขภาพอย่างจำกัดและส่งผลกระทบด้านลบต่ออุตสาหกรรมอาหาร 

ผลการศึกษายังพบว่า เครือข่ายการแพร่กระจาย (diffusion networks) ที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบายนี้ ได้รวมองค์การอนามัยโลก (มีบทบาทสำคัญอย่างมากในประเทศรายได้ปานกลาง) และองค์กรด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคด้วย นอกจากนี้ การเรียนรู้นโยบายของแต่ละประเทศ เพื่อการผลักดันนโยบายฯ มาในรูปของการอ้างอิงถึงการใช้มาตรการเก็บภาษีในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์กรด้านเศรษฐกิจเหมือนกัน และประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน

ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศที่กำลังวางแผนออกนโยบายเก็บภาษีฯ ซึ่งการออกนโยบายนี้ให้สำเร็จได้ ควรดำเนินการผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ นำโดยภาคสุขภาพ และพิจารณาบริบทด้านเศรษฐกิจร่วมด้วย รวมทั้งใช้กรอบการขับเคลื่อนที่มุ่งเป้าไปที่ประเด็นสุขภาพเป็นหลักภายใต้การการสร้างพันธมิตรข้ามภาคส่วนให้ช่วยกันขับเคลื่อน และการพัฒนาระบบติดตามและรายงานผลการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและเข้มแข็ง 


ที่มา: Mulcahy G, Boelsen-Robinson T, Hart AC, Pesantes MA, Sameeha MJ, Phulkerd S, Alsukait RF, Thow AM. (2022). A Comparative Policy Analysis of the Adoption and Implementation of Sugar-Sweetened Beverage Taxes (2016-2019) in 16 Countries, Health Policy and Planning, czac004, https://doi.org/10.1093/heapol/czac004
 
 
  



CONTRIBUTOR

Related Posts
คณิตศาสตร์

วรชัย ทองไทย

เวลา

วรชัย ทองไทย

โรคอ้วน

วรชัย ทองไทย

นอนกี่ชั่วโมงคือเพียงพอ

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์

กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่

ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์

ส่องเทรนโลก เทรนไทย “ตลาดและคุณภาพอาหารแปรรูปสูง”

ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด

อนาคตเด็กไทยหน้าติดจอ

นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง

สูงวัยแต่ไม่แก่

ปราโมทย์ ประสาทกุล

พลเมืองไอซ์แลนด์

อมรา สุนทรธาดา

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th