ประเทศไทยมีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่อยู่อาศัยในประเทศเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก1 แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) สิทธิการมีชีวิต 2) สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง 3) สิทธิในการได้รับการพัฒนา และ 4) สิทธิในการมีส่วนร่วม โดยเด็กหมายถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ตามกลไกของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ซึ่งมีการจัดทำความร่วมมือของหน่วยงานเพื่อกำหนดแนวทางมาตรการแทนการกักตัวเด็กเพื่อรอการส่งกลับ สำหรับเด็กที่เข้าประเทศโดยไม่ถูกตามกฎหมายปัจจุบันประเทศไทยไม่มีเด็กที่ต้องถูกกักขังรวมกับผู้ใหญ่ และนับเป็นการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่เด็กต่างด้าวในประเทศ2
สำหรับจำนวนเด็กข้ามชาติในประเทศไทย จากการคาดประมาณของยูนิเซฟ คาดว่ามีประชากรข้ามชาติในประเทศไทยรวม 3.6 ล้านคน และในจำนวนนี้เป็นกลุ่มประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 14 ซึ่งคิดเป็นจำนวนประชากรเด็กประมาณ 500,000 คน3
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบมากมายต่อประชากรไทย ไม่เว้นแม้แต่ประชากรข้ามชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทั้งยังส่งผลกระทบต่อลูกหลานของแรงงานข้ามชาติอีกด้วย ผลการศึกษาจากโครงการวิจัย “การประเมินสถานการณ์เด็กข้ามชาติในประเทศไทยและผลกระทบจากโควิด-19” พบว่า เด็กข้ามชาติมีความเสี่ยงด้านการคุ้มครองหลายด้าน สำหรับความเสี่ยงเด็กเล็กได้แก่ ความรุนแรงในครอบครัวการดูแลและการเลี้ยงดู ส่วนความเสี่ยงเด็กโต ได้แก่ ความรุนแรงในครอบครัว การออกสู่ตลาดแรงงาน การแต่งงานก่อนวัยอันควร และพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่นำไปสู่ความรุนแรง
ความเสี่ยงในเด็กเล็ก พบว่า พ่อแม่ผู้ปกครองต้องหยุดงาน ทำให้ขาดรายได้มีปัญหาด้านการเงิน ส่งผลให้เกิดความเครียด และความเครียดในครอบครัวนี่เองที่เป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว ความเสี่ยงด้านการดูแลหรือการเลี้ยงดู พบว่า เมื่อศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติต้องปิดลง พ่อแม่ผู้ปกครองไม่กล้าปล่อยเด็กไว้เพียงลำพัง จึงพาเด็กไปทำงานหรือไปที่ทำงานด้วย ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงจากผลกระทบจากสารเคมีสำหรับพ่อแม่ที่ทำอาชีพภาคเกษตร ในภาคประมงเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการทำงานได้เช่นกัน
สำหรับความเสี่ยงในเด็กโต พบว่า เด็กที่ต้องหยุดเรียนเนื่องจากโรงเรียนปิด ส่วนใหญ่จะออกไปช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองทำงาน ซึ่งพอจะมีรายได้เล็กน้อยนำมาช่วยเหลือจุนเจือครอบครัว เด็กกลุ่มนี้เสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา และออกสู่ตลาดแรงงาน เนื่องจากการหยุดเรียนเป็นเวลานาน การกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้งเป็นเรื่องยาก เนื่องจากเด็กโตขึ้น เมื่อสามารถทำงานและมีรายได้จึงอยากทำงานมากกว่า นอกจากนี้เด็กกลุ่มนี้ยังเสี่ยงต่อการแต่งงานก่อนวัยอันควรอีกด้วย
การแก้ปัญหาผลกระทบด้านการดูแลคุ้มครองเด็กข้ามชาติ กับครอบครัวของเด็กผ่านพ่อแม่ผู้ปกครอง บางมาตรการในการช่วยเหลือและเยียวยาเด็กกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับหรือยังไม่สามารถเข้าถึงได้ เช่นเดียวกับนโยบายการขึ้นทะเบียนแรงงาน การต่อใบอนุญาตทำงานที่ยังพบว่ายังมีข้อจำกัดอยู่ ในเรื่องของกระบวนการ เช่น การตรวจร่างกาย และค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการดำเนินการที่เป็นผลจากสถานการณ์โควิด-19 ล้วนส่งผลกระทบต่อสิทธิและสถานภาพในการทำงานของพ่อแม่แรงงานข้ามชาติ ทั้งในด้านรายได้และด้านสถานภาพการมีเอกสารที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กข้ามชาติที่ยังมีข้อจำกัดในหลายๆ ประเด็น ในการดำเนินงานควรจะมีกลไกความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาสังคม และองค์กรชุมชน โดยอาจเป็นการจัดตั้งคณะทำงานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ บูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติรวมถึงเด็กข้ามชาติ เช่น การประสานงานส่งต่อความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ให้กับเด็กข้ามชาติและแรงงานข้ามชาติให้ได้อย่างทั่วถึงในช่วงวิกฤต ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวยังสามารถเป็นกลไกในการดำเนินงานเชิงป้องกันให้กับหน่วยงานต่างๆ ได้อีกด้วย
ที่มา: การจัดประชุมเพื่อนำเสนอผลและร่วมกำหนดนโยบาย. (27 พฤษภาคม 2565). โครงการวิจัย “การประเมินสถานการณ์เด็กข้ามชาติในประเทศไทยและผลกระทบจากโควิด-19”
อ้างอิง
กัญญา อภิพรชัยสกุล
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
กัญญา อภิพรชัยสกุล
วรชัย ทองไทย
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
จีรวรรณ หงษ์ทอง
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สุริยาพร จันทร์เจริญ
อภิชัย อารยะเจริญชัย
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
สุภาณี ปลื้มเจริญ
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต,สุภรต์ จรัสสิทธิ์
สุชาดา ทวีสิทธิ์
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ปรียา พลอยระย้า
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
อารี จำปากลาย
วรเทพ พูลสวัสดิ์
กาญจนา เทียนลาย
นงเยาว์ บุญเจริญ
ภัสสร มิ่งไธสง
มนสิการ กาญจนะจิตรา
อมรา สุนทรธาดา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
บุรเทพ โชคธนานุกูล
ธีรนงค์ สกุลศรี
ขวัญชนก ใจซื่อกุล
ฉัตรชัย วัฒนไชยประทีป
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
อมรา สุนทรธาดา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปาริฉัตร นาครักษา,สิรินทร์ยา พูลเกิด
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด
มนสิการ กาญจนะจิตรา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปรียา พลอยระย้า
อมรา สุนทรธาดา
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
สุรีย์พร พันพึ่ง
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
วรชัย ทองไทย
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ชณุมา สัตยดิษฐ์
นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง
ศิรดา เขมานิฏฐาไท
ปาริฉัตร นาครักษา
วาทินี บุญชะลักษี
กาญจนา เทียนลาย
ภูเบศร์ สมุทรจักร
ณปภัช สัจนวกุล